ดูหน้า

ปัญหาที่พบบ่อย

ความรู้ต่างๆ ปัญหาเกี่ยวกับอาการทรุดโทรมของบ้าน อันเนื่องมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากสิ่งก่อสร้างเก่า โครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

1. บ้านอาคารทรุดเอียง, ทรุดร้าว

  • เสาเข็มเยื้องศูนย์

ส่วนมากมาจากดินเคลื่อนต่ำ หรือฐานราก 1 ฐาน ใช้เสาเข็ม 1 ต้น ช่างตอกเสาเข็มผิดตำแหน่งจากแบบทำให้เสาเข็มอยู่ห่างหรือเยื้องจากเสาบ้านมาก เสาเข็มไม่ตรงกันกับเสาบ้าน ทำให้ฐานราก (Footing) พลิก ดินเคลื่อนจากตลิ่งสูงไปหาคลองที่แห้งขอด ดินเคลื่อนจากการขุดดินเป็นหลุมลึกขนาดใหญ่ทำให้ไปดันเสาเข็มหลุดจากฐานราก

  • เสาเข็มหัก

เกิดจากใช้เสาเข็มสั้น 2 ต้นมาต่อกัน ทำให้หักตรงรอยต่อหรือเกิดจากเข็มเจาะขาดกลาง ดึงปลอกเหล็กหล่อเข็มเจาะเร็วเกินไป คอนกรีตยังไม่แข็งตัวดี ทำให้ดินดันคอนกรีตที่ยังไม่แห้งขาดออก หรือจากการสั่นสะเทือนของการบรรทุกขนาดใหญ่ เครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น ปั้นจั่น ตอกเข็มทำให้ดินเคลื่อนดันเสาเข็มหัก

  • ใช้เสาเข็มยาวไม่เท่ากัน

ตอกเสาเข็มยาว 16-21 เมตรปลายเสาเข็มถ่ายน้ำหนักลงชั้นดินแข็ง รับน้ำหนักได้มาก ทรุดตัวน้อย ตอกเสาเข็มสั้นยาว 6 เมตร ปลายเสาเข็มอยู่ชั้นดินอ่อน รับน้ำหนักได้น้อย
ทรุดตัวมาก ถ้าเชื่อมส่วนอาคารเข็มยาวกับส่วนต่อเติมใช้เข็มสั้นเข้าด้วยกัน ทำให้ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากันทำให้บ้านทรุดร้าว หรืออาจมาจากตอกเข็มยาว 16-21 เมตร
แต่ตอกเข็มลงบนดินต่างชนิดกัน แข็งแรงไม่เท่ากัน ทำให้ทรุดตัวไม่เท่ากัน ทำให้บ้านทรุดร้าว

  • ตอกเสาเข็มไม่ได้ตั้ง Blow Count (โบลว์ เคานท์)

ตอกเสาเข็มยาว 16-21 เมตร เสาเข็มบางต้นอาจตอกถึงชั้นดินดาน บางต้นอาจตอกไม่ถึงชั้นดินดาน ทำให้แข็งแรงไม่เท่ากัน ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน
แก้ไขโดยการเสริมฐานราก (Underpinning) หรือยกบ้าน (House Lifting)

 

2. ซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร คานชำรุด คานคอนกรีตเหล็กเป็นสนิม

คานคอนกรีตเหล็กเป็นสนิม สาเหตุมาจากคานชำรุด เสาคานคอนกรีตร้าวระเบิดแตกออก ส่วนมากเกิดจากเหล็กเสริมข้างในเป็นสนิม เมื่อเหล็กเส้นมาพบเจอกับอากาศ (O2) และความชื้นน้ำ ทำให้เกิดสนิมในเหล็กเส้น ถ้าโครงสร้างคอนกรีตอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่รุนแรง เช่น ถูกน้ำทะเลกระทำ ถูกสารเคมีจำพวกคลอไรด์ ซัลเฟต กระทำปฏิกิริยา อยู่ในที่เปียกชื้นตลอดเวลาเป็นเวลานาน ทำให้คอนกรีตถูกทำลาย คานคอนกรีตเหล็กเป็นสนิมคานชำรุดเหล็กเสริมเป็นสนิมมาก เป็นอันตรายต่อโครงสร้างคอนกรีต

  • วิธีแก้ไข

- ทำการค้ำยันโครงสร้างเสาคานคอนกรีตให้แข็งแรง

- สกัดคอนกรีตที่แตกร้าวไม่แข็งออกให้หมด แล้วสกัดเปิดคอนกรีตขยายกว้างขี้นไปอีก จนไม่พบว่าเหล็กเสริมเป็นสนิม

- ถ้าเหล็กเสริมเป็นสนิมไม่มาก ขัดออกด้วยวิธีทางกล ใช้เครื่องมือเจีย ขัดเจียออก ขัดสนิมออกให้หมด ถ้าพบเหล็กเสริมเป็นสนิมขุม เป็นสนิมมาก ให้ตัดเหล็กเส้น
ที่ขั้นสนิมออก ใช้เหล็กเส้นขนาดได้มาตรฐานต่อทาบด้วยวิธีเชื่อมไฟฟ้า

- ทาน้ำยา Corrosion Inhibitor บนเหล็กเส้นที่ดี เหล็กเส้นที่ขัดสนิมออกและเหล็กเส้นที่เชื่อมเปลี่ยนใหม่

- เข้าแบบเทปูนพิเศษ (ปูนกำลังสูง) ลงในโพรงเสาคานที่เข้าแบบไว้

- บ่มปูนคอนกรีตให้ได้กำลัง จึงถอดแกะแบบออก

- ฉาบทาโครงสร้างคอนกรีต สำหรับกันสารเคมีจำพวกคลอไรด์

*หมายเหตุ: ถ้าโครงสร้างคอนกรีตเสาคานพื้นร้าวเป็นรอยแยกเล็กๆ (Carck) ให้ใช้ระบบ อีป๊อกซี่ อินเจคชั่น (Epoxy injection)

 

3. ปัญหารั่วซึม

  • กรณีผนังกำแพงภายนอกอาคาร

สาเหตุ

- ผนังอาคารไม่มีเสา 1อันทับหลัง หรือทำน้อยไปไม่ได้ระยะ หรือไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งเวลาก่ออิฐ
ส่วนรอยต่อระหว่างอิฐก่อกับเสาคานไม่ได้ใส่ตะข่ายกรงไก่ยึดไว้ หรืออาจเกิดจากปูนฉาบร่อนออก น้ำฝนสาดเข้าไปอิฐดูดน้ำเอาไว้ น้ำซึมเข้าไปในตัวอาคาร 

  • กรณีพื้นดาดฟ้าคอนกรีต

สาเหตุ

- พื้นคอนกรีตตกท้องช้าง ทำให้น้ำท่วมขังนานวันเข้าเหล็กขึ้นสนิมดันคอนกรีตแตกกระเทาะออก

- พื้นคอนกรีต slope ไม่พอ ไม่ลาดชันไปยังท่อน้ำทิ้ง

- พื้นคอนกรีตดาดฟ้ารูท่อน้ำทิ้งตัน หรือไม่มีท่อน้ำทิ้ง 

  • กรณีหลังคา

สาเหตุ

- หลังคา Slope น้อยเกินไป ทำมุมน้อยไป ทำให้น้ำฝนไหลย้อนกลับ

- ระยะเกยทับของกระเบื้องหลังคาน้อยไป

- จากรอยต่อระหว่างหลังคากับตัวอาคาร ไม่ได้ทำส่วนห่อหุ้มปีกนก (Flashing) เอาไว้ ไม่ได้เทครีบปีกนกกันเอาไว้

  • การแก้ไข ทำระบบกันซึม เช่น

- ระบบกันซึมไฟเป่าแผ่นยาง

- เคลือบหรือทาหลังคาดาดฟ้า พื้นผนัง ด้วยวัสดุโพลีเมอร์ อะครีลิค

- เคลือบหรือทาด้วยวัสดุประเภทคอมโพสิท อีป๊อกซี่

- สกัดผนังปูนตามรอยแยก แล้วฉาบปิดด้วยวัสดุประเภทซีเมนต์


27 กันยายน 2565

ผู้ชม 7064 ครั้ง